jokesocool

News

EIC SCB ลดเป้าจีดีพีโต 3.2% โอมิครอนทำท่องเที่ยว-ส่งออกสะดุด

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC SCB) ประเมินผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน จะเป็นความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังเปิดประเทศ โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 1 ของปีนี้ โดยคาดว่าจะกระทบผ่านช่องทางภาคการท่องเที่ยวและภาคการส่งออกเป็นหลัก โดย EIC SCB ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 65 เหลือขยายตัวเพียง 3.2% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3.4% จากนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มลดลงจากคาดการณ์เดิมในไตรมาสแรก การส่งออกที่อาจปรับชะลอลงตามเศรษฐกิจโลก และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งรวมถึงการบริโภคและการลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ที่อาจชะลอลง โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยปรับลดลงเหลือเพียง 2.6 ล้านคน ในกรณีเลวร้าย (จากเดืมที่คาดไว้ 5.9 ล้านคน) ขณะที่การส่งออกขยายตัวที่ 3.4% (ลดลงจากประมาณการเดิมที่ 4.7%) บนสมมติฐานว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโอมิครอนจะมีอยู่ทั่วโลกในช่วงไตรมาส 1 ของปี แต่มาตรการควบคุมจะไม่เข้มงวดเท่าการระบาดในอดีต

ด้านค่าเงินบาทในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศรุนแรง และมีรายงานข่าวการติดเชื้อโอมิครอนในประเทศ มีเงินทุนเคลื่อนย้ายได้ไหลออกจากตลาดทุนไทยเช่นกัน แต่ปริมาณเงินที่ไหลออกจะไม่รุนแรงนักเนื่องจากไทยยังมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ด้วยเหตุนี้ EIC SCB จึงคาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าอยู่ในกรอบ 33.5-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ตามแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และจากความเสี่ยงที่จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศอาจปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและเป็นปัจจัยกดดันให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกจากไทยในระยะสั้นได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตามการขาดดุลของบัญชีเดินสะพัดที่ลดลงจากการท่องเที่ยวที่จะเริ่มฟื้นตัว คาดว่าค่าเงินบาทจะทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 32-33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 65

นอกจากนี้ คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% ต่อเนื่องตลอดทั้งปีนี้ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกน่าจะทำได้อย่างเร็วที่สุดในปี 66 โดย EIC ประเมินว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนอยู่ในช่วงครึ่งแรกของปี และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะทยอยฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ทำให้ขนาดของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะกลับไปเท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ในช่วงกลางปี 66 นอกจากนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านอุปทาน แต่คาดว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายลงในช่วงครึ่งหลังของปีเช่นกัน**

ทั้งนี้ แม้ว่าล่าสุดจะเริ่มเห็นการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการในประเทศไปบ้างแล้ว แต่ด้วยอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงซบเซา ประกอบกับอุปทานสินค้าน่าจะทยอยออกมาเพิ่มเติมได้ในระยะต่อไป จะช่วยลดแรงกดดันด้านราคาลงได้ ทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อคลี่คลายลง นอกจากนี้ แม้ว่าเงินบาทอาจปรับอ่อนค่าลงได้ในระยะสั้นตามความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน แต่การอ่อนค่าของเงินบาทจะไม่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทยเร่งตัวขึ้นมากนัก เนื่องจากการส่งผ่านของการเปลี่ยนแปลงค่าเงินสู่ราคาสินค้าและบริการในประเทศยังต่ำ (low exchange rate passthrough) โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ส่งผลให้ไทยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอเงินเฟ้อเหมือนในต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงมองว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกน่าจะทำได้อย่างเร็วในปี 2023 และคาดว่าจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่จะเป็นไปอย่างช้าๆ

ด้านเศรษฐกิจโลก EIC SCB ประเมินว่า การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน อาจส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 1 ปี 65 มีแนวโน้มชะลอลงจากที่คาดไว้เดิม แต่เศรษฐกิจโลกจะทยอยปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2 เป็นต้นไป หลังมีการแจกจ่ายวัคซีนใหม่ที่จะควบคุมการระบาดได้ โดยประเมินว่าเศรษฐกิจโลกทั้งปี 65 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงราว 0.3-0.4 ppt เทียบกับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโอมิครอน ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความรวดเร็วในการพัฒนาและการแจกจ่ายวัคซีนใหม่ที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ ปัญหาอุปทานคอขวดที่อาจรุนแรงขึ้นได้ในไตรมาสแรก ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 2 และปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่อาจยังไม่ฟื้นตัวในระยะแรก ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นหลังมีวัคซีนใหม่ออกมา

ทั้งนี้ กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets : EMs) มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดมากกว่า จาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) อัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ทำให้ภาครัฐอาจต้องพึ่งพามาตรการควบคุมการเดินทางและจำกัดการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคบริการมากกว่าในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูง ทำให้การควบคุมอาจเข้มงวดน้อยกว่า (2) สัดส่วนการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวสูงกว่า ซึ่งภาคท่องเที่ยวมีความอ่อนไหวต่อการแพร่ระบาดที่สูง และ (3) พื้นที่ในการดำเนินนโยบายการคลัง (Policy space) เพื่อสนับสนุนการหยุดชะงักของเศรษฐกิจมีอยู่อย่างจำกัด รวมถึงต้นทุนในการดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังที่สูงกว่า เนื่องจากหลายประเทศต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนภายนอกซึ่งดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น

You may also like...